อ.ภก.แสง อุษยาพร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความรู้ในการดูแลตนเองเมื่อเกิดบาดแผลชนิดต่างๆ
การทำความสะอาดแผลเบื้องต้นทำได้โดยล้างแผลด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือล้างแผล อาจใช้ยาล้างแผลโพวิโดนไอโอดีน
แผลที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะได้แก่ แผลที่ไม่มีสิ่งสกปรกติดอยู่ หรือมีแต่ล้างออกได้หมด ขอบแผลเรียบ ไม่ลึก แผลถลอก ขีดข่วน เพียงดูแลแผลด้วยวิธีปกติก็เพียงพอแล้ว
แผลที่ต้องได้รับยาปฏิชีวนะได้แก่ แผลที่เป็นมานานกว่า 6 ชั่วโมงโดยไม่ได้ทำความสะอาด แผลที่มีสิ่งสกปรกติดอยู่และล้างออกได้ไม่หมด แผลที่มีเนื้อตายเป็นบริเวณกว้าง แผลในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ แผลสัตว์หรือคนกัด ข่วน (ต้องได้รับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าร่วมด้วย)
ยาปฏิชีวนะชนิดทา ใช้ในการรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไม่ควรใช้ในการรักษาแผล นอกจากไม่ช่วยให้แผลหายแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยา
ในการใช้ยาปฏิชีวนะ ควรไดัรับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร
หยุด ใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น หยุด เชื้อดื้อยา
อย่าลืมบอกต่อคนที่คุณรัก
จัดทำโดยศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย เนื่องในโอกาส “สัปดาห์รู้รักษ์ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย ประจำปี 2563” ระหว่างวันที่ 16-24 พฤศจิกายน 2563
#เป็นอะไรก็ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นที่มาของความตาย#เชื้อดื้อยา#สัปดาห์รู้รักษ์ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย#WAAW2020#AntimicrobialsHandleWithCare#UnitedToPreserveAntimicrobials